หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติของสารสนเทศประเภทบุคคล


ประวัติของสารสนเทศประเภทบุคคล

   บทสำภาษณ์ของ คุณสมหมาย   เจริญสุข

ประวัติส่วนตัว
        ชื่อ-สกุล : นาย สมหมาย   เจริญสุข
        อายุ : 50
        ภูมิลำเนา : เป็นคนในพื่นที่ชุนชมบ้านกู้กู ตำบลรัฐษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
        ประวัติการศึกษา : ประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนก ช่างเชื่อม วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
        ประวัติการทำงาน : ปัจจุบันอาชืพค้าขาย , เป็นประธานชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านกู้กู

ประวัติการก่อตั้งองค์กร
       มีการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2551 จากการรวมตัวของชาวบ้านในชุมชน เมื่อปี พ.ศ.2550 รวมระยะเวลาในการจัดตั้งองค์กรชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลนเป็นเวลา 3 ปีโดยประมาณ

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์กร
   1. อนุรักษ์ป่าชายเลนในแหล่งชุมชน
   2. รักษาความสมดุลระบบนิเวศธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
   3. เพื่อลดภาวะโลกร้อน
   4.เพื่อรักษาพันธ์สัตว์น้ำและพันธุ์พืชป่าชายเลน
      เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังได้มีป่าเลยเลนไว้ใช้ประโยชน์และเป็นแหล่งทำมาหากิน

สาเหตุของการจัดตั้งชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลน
       เนื่องจากมีการบุกรุก จดเอกสารสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของตนเองในการปลูกต้นจากในพื้นที่แห่งนี้ โดยที่ไม่มีการทำประโยชน์ให้กับพื้นป่าชายเลนเลย จึงเกิดการรวมตัวของชาวบ้านในพื้นที่เพื่อต่อสู้กับกลุ่มนายทุน

แรงจูงใจในการทำงาน
       มีความรู้สึกหวงแหนและเล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าชายเลน ที่มีการบุกรุกจากบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของคนในชุมชนและเป็นที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษของพวกเขารุ่นปู่ย่าตายาย จึงมีจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์ผืนป่าแห่งนี้ ไว้ให้รุ่นลูก รุ่รหลานได้ใช้เป็นแหล่งทำมาหากินต่อไป

วิธีการปฏิบัติงาน
       มีการจดทะเบียนเป็นองค์กร มีสมาชิกในองค์กรทั้งหมด 25 คน มีวาระการประชุมเพื่อการลงความคิดเห็นในการพัฒนาและปรับปรุงป่าชายเลนในความดูแลของกลุ่มองค์กร

การจัดสรรงบประมาณ
   - มีการช่วยเหลือจากน้ำพักน้ำแรงของชาวบ้าน
   - ได้รับความอนุเคราะห์จากองค์กรเอกชนบางสวน
   - จากการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การหล่อเทียนพรรษา,ลอยกระทง เป็นต้น

การประชาสัมพันธ์
   - ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชน NGO ในกานประสานงานประชาสัมพันธ์กิจกรรมขององค์กร
   - การช่วยเหลือในการกระจายข่าวจากชาวบ้าน
   - จากกลุ่มนักเรียน - นักศึกษา ที่เข้ามาอนุรักษปลูกป่าชายเลน และกลับไปประชาสัมพันธ์
   - การประชาสัมพันธ์จากองค์กรฝั่งอันดามัน

วิธีการเชิญชวนให้มาเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
   - มีการเชิญชวนปากต่อปาก
   - ผ่านบุคคลในชุมชน
   - จากนักเรียน - นักศึกษา ที่เข้าร่วมปลูกป่าชายเลน
   - ปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
   - จัดนิทรรศการ
   - จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึก

หน่วยงานและองค์กรให้ความช่วยเหลือ
   - กรมสิทธิมนุษยชน
   - กรมสืบสวนคดีพิเศษ
   - กรมทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน
   - กรมพัฒนาที่ดิน
   - กลุ่มนักเรียน - นักศึกษา
   - กลุ่มชาวบ้านในชุมชน

คุณค่าและความสำคัญของป่าชายเลน
   - ปลูกป่าชายเลนเพื่อลดภาวะโลกร้อน
   - ป้องกันคลื่นลมและการกัดเซาะของชายฝั่ง
   - เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ
   - เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านในชุมชน
   - เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ เช่น ลิงแสม นกกาน้ำ

พันธุ์ไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่ ชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลน
   - โกงกางเล็ก
   - โกงกางใหญ่
   - โกงกางหัวซุ้มขาว
   - ต้นโปรแดง
   - ต้นถั่วขาง ถัวดำ
   - เงือกปลาหมอ
   - ตะบูรณ์ขาว ตะบูรณ์ดำ
   - ต้นสาวดำ
   - หวายลิง
   - ต้นแก้มหม้อ
   - ต้นแป้ง

พันธุ์สัตว์ที่มีอยู่ในพื้นที่
   - กุ้ง หอย ปู ปลา
   - ปูแสม
   - ตัวหอม
   - ลิงแสม
   - นกกาน้ำ
   - นกทะเล ฯลฯ

สรรพคุณและการนำไปใช้ประโยชน์ของพันธุ์พืชและสัตว์
   - หวายลิง ใช้ในการนำมาเป็นใบจาก เพื่อนำมามุงหลังคา และกั้นเป็นฝาผนังบ้าน
   - เงือกปลาหมอ แก้เลือด ให้ไหลเวียนให้คล่อง
   - ต้นแก้มหม้อ ใช้ต้มเป็นยารักษาโรคริดสีดวง
   - ตัวหอม ใช้ในการรักษาหอบหืน

ผลงาน
       ได้รับรางวัล ชุมชนดีเด่นอนุรักษ์ป่าชายเลน ปี พ.ศ.2551

ความคาดหวังเยาวชนรุ่นหลังในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
       ตามหลังความจริง มีความคาดหวังน้อยมาก จึงมีความคิดที่จะปลูกฝังตั้งแต่เด็ก และเยาวชนภายในชุมชนของตนเองให้อนุรักษ์ป่าชายเลนนี้ไว้ให้คงอยู่ต่อๆไป